หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!


วัสดีค่าน้องๆ... หากติดตามข่าวช่วงนี้ คงไม่มีอะไรน่าลุ้นไปกว่า "โรคมือเท้าปาก" ระบาดไปทั่ว และระบาดไวจนน่าเป็นห่วง จากเดิมที่มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา แต่สถานการณ์ขณะนี้โรคนี้ได้ขยายวงกว้างไปเกือบทั้งประเทศทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งหลายโรงเรียนได้พบนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคนี้และสั่งปิดโรงเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

                 พี่มิ้นท์ อยากฝากน้องๆ ชาว 
Dek-D.com ให้ดูแลและระวังตัวเองเป็นพิเศษนะคะ เพราะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นเช่นนี้ หน้าฝนถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการระบาดของเชื้อโรคมากที่สุดด้วย ซึ่งในวันนี้พี่มิ้นท์ได้นำสาระดีๆ เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก มาฝากน้องๆ เพื่อให้รู้และเข้าใจ รวมทั้งนำไปปฏิบัติเพื่อให้ห่างไกลจากโรคนี้กันค่ะ
เด็กดีดอทคอม :: "โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!

                 โรคมือเท้าปาก หรือ Hand-Foot-and-Mouth Diease ในช่วงระยะหลังค่อนข้างคุ้นหูกับโรคนี้ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในโรงเรียนอนุบาล-ประถม  เพราะเป็นโรคที่พบมากในวัยเด็กที่ต่ำกว่า 10 ขวบ (แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้นะคะ) เกิดจากเชื้อไวรัส  Coxsackie virus A16 หรือ Enterovirus 71 สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่ายมาก ผ่านการสัมผัสน้ำลาย เสมหะ หรือน้ำจากตุ่มใสของผู้ป่วย ซึ่งในแง่นี้รวมถึงการสัมผัสโดยอ้อมจากการหยิบจับสิ่งของที่ผู้ป่วยได้เคยจับมาด้วย โดยระยะที่แพร่เชื้อได้ดีที่สุด คือ ในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าถ้าโรงเรียนใด พบนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ให้ปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียนทันที!!

                  เมื่อได้รับไวรัสเข้าไปในร่างกายแล้ว ไวรัสจะแบ่งตัวที่เยื่อบุในกระพุ้งแก้มและในลำไส้เล็ก หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง มีระยะฟักตัวแค่ 3-6 วัน จนกระทั่งเชื้อไวรัสจะแพร่ไปตามกระแสเลือดไปฝังตัวตามเยื่อในช่องปาก มือและเท้า จนเกิดอาการตามชื่อของโรค
เด็กดีดอทคอม :: "โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!

                  อาการของโรคนี้ค่อนข้างเห็นชัดเจนมาก เนื่องจากแสดงออกมาภายนอกร่างกายด้วย อาการเริ่มต้นจะคล้ายๆ กับการเป็นไข้โดยทั่วไป คือ ครั่นเนื้อครั่นตัว แต่หลังจากนั้นไม่เกิน 2 วัน จะมีแผลในช่องปาก โดยเป็นผื่นและตุ่มแดง คล้ายๆ แผลร้อนใน ต่อมาก็จะเป็นตุ่มน้ำ และหากมันแตก แผลเล็กหลายๆ แผลก็มีโอกาสรวมเป็นแผลขนาดใหญ่ด้วย ส่วนมากแผลจะเกิดขึ้นที่เพดานปาก เยื่อบุช่องปากและลิ้น นอกจากภายในปากแล้ว มือและเท้าก็จะมีผื่นอยู่ตามแขน ขาและมือด้วย ซึ่งจำนวนของรอยผื่นก็มีโอกาสที่จะเป็นเพียงนิดเดียวไปจนถึงมีมากเป็นร้อยๆ จุด แต่ผื่นและตุ่มเหล่านี้
 จะตกสะเก็ดและหายไปเองได้ภายใน 7-10 วันค่ะ
เด็กดีดอทคอม :: "โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!

                    ถามหาการรักษาโรคมือเท้าปาก ขอบอกว่าไม่มีค่ะ!! ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคนี้โดยตรง แต่คุณหมอจะแยกรักษาตามอาการที่เราป่วย เช่น ถ้ามีไข้ก็จะให้ยาลดไข้ ถ้าเจ็บปากก็จะให้ดิ่มน้ำเยอะๆ หรือป้วนปากด้วยน้ำเกลือ ซึ่งอาการป่วยนั้น ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ค่ะ แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดี มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ก็ต้องรักษาตามอาการของโรคแทรกซ้อนต่อไป

                   สำหรับการป้องกัน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความสะอาดค่ะ หากเราหยิบจับสิ่งของที่เป็นของผู้อื่น ก่อนกินข้าวหรือหลังเข้าห้องน้ำ ควรล้างมือให้สะอาด เป็นไปได้ก็ควรล้างด้วยสบู่  เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อโรค รวมถึงห้องเรียน ห้องน้ำ ของใช้ส่วนรวมก็ควรทำความสะอาดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สำหรับโรงเรียนหรือสถานที่ที่มีคนรวมตัวกันอยู่เยอะๆ หากพบคนที่่ป่วยก็ควรแยกออกจากกลุ่ม เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้าสู่คนอื่น และงดกิจกรรมที่ต้องร่วมกับคนอื่นด้วย และถ้าหากพบเกินจำนวนที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ก็ควรปิดชั้นเรียนหรือปิดโรงเรียนไปเลย ซึ่งโควตาผู้ป่วยที่กระทรวงฯ กำหนด มีดังนี้

            - ถ้าพบนักเรียนในห้องเดียวกันมีคนป่วยเกิน 2 คน ต้องปิดห้องเรียนและทำความสะอาด
            - ถ้าพบนักเรียนในระดับชั้นเรียนเดียวกัน ป่วยเกิน 3 คน ต้องปิดการเรียนการสอนทั้งระดับชั้น
            - ถ้าพบนักเรียนป่วยกระจายตามระดับชั้นต่างๆ เกิน 5 คน ต้องปิดโรงเรียน

                  ซึ่งเบื้องต้นโรงเรียนทั่วประเทศก็ปิดไปหลายสิบโรงเรียนแล้วล่ะค่ะ ลองเช็ครายชื่อได้
>>คลิกที่นี่<< ซึ่งตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็กำลังตรวจสอบกันอย่างเต็มที่ว่ายังมีโรงเรียนที่มีผู้ป่วยอีกหรือไม่

เด็กดีดอทคอม :: "โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!

   เกร็ดที่ต้องรู้!! เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก

            - เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทุกปี แต่คนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญ
            - ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อและเกิดอาการต่างๆ ใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
            - ถึงแม้ว่าช่วงแพร่เชื้อที่กระจายได้มากที่สุด คือ สัปดาห์แรกของการป่วย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพอพ้นสัปดาห์แรกแล้วจะหายไป เพราะความจริงแล้วเชื้อยังสามารถกระจายได้อยู่จนกว่ารอยโรคจะหายไป หรือบางครั้งเชื้ออาจอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยได้เป็นเดือนๆ
            - รอยผื่นหรือจุดแดงของโรค ส่วนใหญ่มักพบที่หลังมือ/หลังเท้า ด้านข้างของนิ้วมือ/นิ้วเท้า มากกว่าที่จะขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
            - โรคที่มีอาการคล้ายโรคมือเท้าปาก ได้แก่ หัดเยอรมัน แผลร้อนใน-แผลติดเชื้อในช่องปาก และอีสุกอีใส
            - อาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาเจียน ซึ่ม และชักเนื่องจากมีไข้สูง
           - ช่องทางที่เชื้อไวรัสจะแพร่เข้าสู่ร่างกายทางปากได้โดยตรง เช่น ช้อน แก้วน้ำ และการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มใส แผลในช่องปาก หรืออุจจาระของผู้ป่วย
           - หากมีอาการเหล่านี้ พบแพทย์ด่วน!! ไข้สูง กินยาแล้วไม่หาย กระสับกระส่าย แผลในช่องปากเกิดขึ้นเยอะและไม่หาย เจ็บปาก ดื่มน้ำหรือกินข้าวไม่ได้
เด็กดีดอทคอม :: "โรคมือ เท้า ปาก" โรคใหม่ ที่กำลังระบาดในเด็กไทย !!

                วัยเด็กเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันยังไม่มากพอ และความระมัดระวังเรื่องสุขศึกษาก็ยังมีน้อย ดังนั้นหากชาว Dek-D.com มีน้อง หรือเด็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ก็ควรดูแลและแนะนำน้องๆ หนูๆ ด้วยนะคะ สำหรับน้องๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้ ถึงแม้จะไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แต่ก็อย่าประมาทเชียวนะ เพราะสามารถเป็นได้เหมือนกัน

               สิ่งสำคัญที่สุด คือ เรื่องความสะอาดค่ะ "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" ยังเป็นคำแนะนำที่่ป้องกันได้ทุกโรค อย่าลืมปฏิบัติกันนะ เพื่อสุขภาพของตัวเองและยับยั้งการกระจายของโรคค่ะ :D
Cerdit by http://www.dek-d.com/content/education/29290/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น